การติดตั้งและการใช้งานวัสดุป้องกันไฟและควันลาม (Fire Barrier)

ความต้องการทั่วไป

เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้อาคาร ผู้รับจ้างจะต้องปิดอุดช่องว่างที่ไม่ได้ใช้งานด้วยวัสดุป้องกันไฟลามและควันลาม เพื่อลดการแพร่กระจายของควันไฟจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง

วัสดุป้องกันไฟและควันลาม (Fire Barrier)

  • หลังจากผู้รับเหมาระบบติดตั้งวัสดุและอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว ผู้รับจ้างจะต้องอุดหรือปิดบริเวณที่วัสดุหรืออุปกรณ์ทะลุผ่าน พื้นหรือคาน และช่องเดินท่อต่างๆ (Shaft) ด้วยวัสดุป้องกันไฟและควันลาม เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ อันเนื่องมาจากการเกิดเพลิงลุกไหม้ลามจากบริเวณหนึ่งไปยังบริเวณหนึ่ง วัสดุป้องกันไฟและควันลามนี้ต้องมีคุณสมบัติตามข้อกาหนดของ NEC หัวข้อ 300-21
  • ASTM E814 (UL 1479) (CAN4-S115M) – Fire Tests of Through-Penetration Firestops
  • ASTM E119 (UL 263) – Fire Tests of Building Construction and Materials Time Temperature Curve หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่าได้ไม่น้อยกว่ามาตรฐานที่กาหนดไว้นี้
  • การใช้วัสดุป้องกันไฟและควันลาม ให้พิจารณาใช้กับผนังกันไฟหรือผนังห้องกันเสียง บริเวณจุดที่ทะลุผ่านที่ปรากฏแก่สายตาทุกจุด และให้อยู่ในความเห็นชอบของผู้ควบคุมงานข้อกำหนดนี้ยังครอบคลุมไปถึงท่อร้อยสายไฟ สายไฟฟ้าและRaceway ที่ติดตั้งในช่องเดินท่อ (Shaft) หรือช่องเปิดบนพื้น (Floor Opening) ต่างๆ ช่องเปิดที่เหลือหลังการติดตั้ง ระบบเรียบร้อยแล้วจะต้องถูกปิดด้วยวัสดุที่กล่าวข้างต้นที่มีความสามารถกันไฟได้ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง

ข้อกำหนดการติดตั้งและการใช้งาน โดยทั่วไป

  1. ให้ติดตั้งวัสดุหรืออุปกรณ์ป้องกันการลุกลามของไฟและควันตามตําแหน่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
  • ช่องเปิดทุกช่องไม่ว่าจะอยู่ที่ใดของพื้น ผนัง คาน ช่องชาฟท์ไฟฟ้า ช่องชาฟท์สื่อสาร สุขภิบาล ปรับอากาศและเครื่องกล รวมถึงแนวผนังกันไฟ (Firewall)
  • ช่องเปิดหรือช่องลอด (Block-out or Sleeve) ที่เตรียมไว้สําหรับการติดตั้งระบบไฟฟ้า สุขภิบาล ปรับอากาศและช่องเปิดในอนาคต เช่น ท่อร้อยสายไฟ รางสายไฟ บัสเวย์
    ช่องเปิดหรือช่องลอด ระหว่างสายหรืออุปกรณ์ประกอบการตั้งแม้เป็นเพียงช่องเล็กน้อยก็ตาม
  • ช่องเปิดทุกช่องไม่ว่าจะอยู่ที่ใดของผนังหรือพื้นห้องหรือฝ้าเพดานและระหว่างผนังที่มีท่อ PVC, PE, PB, Air Duct ต้องปิดด้วยวัสดุชนิด Graphite-based Intumescent Wrap Strip ตามขนาดของท่อ
  • ควรเลือกวัสดุให้ถูกและเหมาะสมกับขนาดท่อนั้น ๆ เพราะในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้วัสดุดังกล่าว จะขยายตัวแทนที่ท่อพลาสติก(Intumescent)
  • ช่องเปิดที่เป็นลักษณะเป็นท่อมีปลอกสลิป(Sleeve/Coring) หรือ Conduit ใช้วัสดุชนิด Intumescent Acrylic โดย Seal ลึกลงไปขั้นต่ำตามกำหนดในกรณีที่เป็นพื้น ส่วนที่เป็นผนังควรปิดทั้ง 2 ด้าน
  • ในกรณีที่ Conduct อยูในจุดที่มีการสั่นสะเทือน ควรเลือกวัสดุที่มีความยืดหยุ่น

ทั้งนี้ขึ้นกับสถานที่ติดตั้งและความต้องการของการใช้งานที่อาจมีเปลี่ยนแปลงในอนาคต อย่างไรก็ตามกรรมวิธีการติดตั้งผู้รับจ้างต้องเสนอขออนุมัติก่อนการติดตั้ง

2. ก่อนการติดตั้งระบบกันไฟและควันลามทุกตําแหน่ง ผู้รับจ้างมีหน้าที่นําเสนอ Installation detail drawing รวมถึงรายละเอียดของวัสดุทั้งหมดในระบบในช่องเปิด ช่องท่อ ช่องลอด ประเภททะลุผ่าน (Through Penetrations) หรือช่องเปิดประเภทรอยต่องานก่อสร้าง (Construction Joint) พร้อมสําเนาเอกสารอ้างอิง (UL Test หรือ EJ – Engineering Judgment ) เพื่อให้ผู้ควบคุมงานพิจารณาอนุมัติระบบกันไฟและควันลามที่ผู้รับจ้างนําเสนอ

3. การติดตั้งต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่ผู้ผลิตวัสดุหรืออุปกรณ์กำหนดและผู้ติดตั้งต้องผ่านการอบรมการติดตั้งวัสดุป้องกันไฟและควันลามจากวิศวกรของผู้ผลิต

4. กรรมวิธีการติดตั้งวัสดุหรืออุปกรณ์ป้องกันไฟและควันลามที่จะนํามาใช้ ต้องได้รับการอนุมัติจากผู้วาจ้างหรือผู้แทนผู้ว่าจ้างก่อน

5. หลังการติดตั้งวัสดุหรืออุปกรณ์ป้องกันไฟและควันลามให้ติดป้ายระบุ “ระบบป้องกันไฟและควันลามห้ามรื้อถอนหรือทําลาย หากเสียหายโปรดแจ้งฝ่ายบํารุงรักษาอาคาร” รวมถึงต้องมีการติดป้ายหรือฉลากถาวร ให้มีระยะห่างที่เหมาะสมเห็นได้ชัดเจน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ ชื่อบริษัทผู้จัดจําหน่าย/บริษัทผู้ติดตั้ง ชื่อผลิตภัณฑ์ เลขที่อ้างอิงผลทดสอบ และวันที่ติดตั้งแล้วเสร็จ

6. ผู้รับจ้างต้องผ่านการอบรม Firestop product verification จากผู้ผลิต และร่วมตรวจสอบกับที่ปรึกษาควบคุมงาน
This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.