อัคคีภัยเกิดขึ้นบ่อยครั้งทั่วโลกและเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการสูญเสียทรัพย์สินและชีวิตผู้คน ประเทศไทยมีกฎหมายควบคุมทางด้านของอัคคีภัยแต่อาจใช้คำว่า “ ไม่เข้มงวด ” เพราะในหลากหลายของอาคารก็ยังไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ในประเทศไทยเราจะมีมาตรฐานของ วสท. ชื่อว่า มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย และมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้ง พรบ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2543 แต่มาตรฐานที่ใช้ในระดับนานาชาติจะเป็น NFPA ( National Fire Protection Association )

งานป้องกันอัคคีภัย คืออะไร?
งานป้องกันอัคคีภัยนั้นเป็นงานที่เกี่ยวเนื่องในหลายๆสาขา แต่มีเป้าหมายร่วมกันคือ เพื่อปกป้อง ชีวิต ทรัพย์สิน การดำเนินธุรกิจ และสิ่งแวดล้อม ใน พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร ฉบับที่3 พ.ศ.2543
กำหนดให้ อาคารสูง อาคารชุมนุมคน ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบทางด้านวิศวกรรมหรือผู้ตรวจสอบทางด้านสถาปัตยดรรม ทำการตรวจสอบ ระบบการแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ระบบการป้องกันและระงับอัคคีภัย แล้วรายงานผลการตรวจสอบต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น
หลักการในการป้องกันอัคคีภัย จะประกอบด้วย
- โครงสร้างอาคารที่สามารถทนไฟ
- การแบ่งพื้นที่ป้องกันและควันไฟลาม
- จัดทางหนีไฟที่สะดวกและปลอดภัย
- การควบคุมวัสดุภายในอาคาร
- การบริหารความปลอดภัยที่ดี
- ระบบเตือนอัคคีภัย
- ระบบดับเพลิงและระบบควบคุมควันไฟที่ได้มาตรฐานและอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี
คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกับพื้นฐานของการระงับอัคคีภัย (สปริงเกอร์ เครื่องดับเพลิง เครื่องดักจับควัน เป็นต้น) แต่การป้องกันอัคคีภัยแบบเชิงรับ (Passive fire protection) มักจะมองไม่เห็นและแทบจะลืมเลือนไปจนเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ขึ้นและต้องใช้มัน แต่ถึงอย่าไงไรก็ตามการป้องกันอัคคีภัยแบบเชิงรับ (Passive fire protection) ก็ยังคงทำงานอยู่เสมอ
“เมื่อระบบป้องกันอัคคีภัยได้รับการออกแบบและใช้งานอย่างเหมาะสม จะรักษาความสมบูรณ์ของโครงสร้างของอาคาร ชีวิตและทรัพย์สินเมื่อถูกไฟไหม้”

พื้นที่ของการป้องกันอัคคีภัยแบบแบบเชิงรับ (Passive fire protection)
การป้องกันอัคคีภัยแบบเชิงรับมี 4 ส่วนหลัก ได้แก่
1. Structural fire protection
2. Compartmentation
3. Opening protection
4. Firestopping materials
การแบ่งส่วนพื้นที่อาคาร
เหตุผลที่เราแบ่งพื้นที่ของอาคารนั้นก็เพื่อ ควบคุมเพลิงให้อยู่ในขอบเขตที่กำหนดไม่ให้ลามออกไปยังพื้นที่อื่นเป็นการจำกัดความเสียให้ให้อยู่ในพื้นที่เดียว ทำให้ผู้คนมีเวลาในการอพยพหนีไฟได้ทันและมีเวลาให้พนักงานดับเพลิงสามารถเข้ามาดับเพลิงได้ทันเวลา

จากแบบอาคารนี้เราจะเห็นว่าถ้าเกิดไฟไหม้ที่โซน A ไฟจะไม่ลามไปที่โซน B เพราะมีการแบ่งพื้นที่ระหว่างโซน A และ B ด้วยผนังกั้นซึ่งผนังกั้นระหว่างโซนจะต้องเป็นผนังที่ทนไฟ 2 ชั่วโมง และถ้าที่ผนังกั้นโซนมีช่องเปิดเช่น ประตูหรือ ท่อที่ทะลุผ่านผนังกั้น วัสดุของช่องเปิดต้องมีอัตราทนไฟที่เท่ากับตัวผนังกั้น ( ผนังกั้นทนไฟ 2 ชั่วโมง ดังนั้นประตูก็ต้องทนไฟ 2 ชั่วโมง )
การป้องกันช่องเปิด
เรามีเหตุผลที่เราต้องป้องกันช่องเปิดที่ทะลุผ่านผนังกันไฟ ก็เพื่อป้องกันควันไฟหรือเปลวไฟลุกลามผ่านทางช่องเปิดนั้น ในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้เรามีการแบ่งโซนอย่างเรียบร้อยทำให้ไฟไม่สามารถลุกลามไปยังโซนอื่นได้ แต่เราลืมที่จะป้องกันรูของท่อที่ผ่านผนัง ทำให้ควันผ่านทางช่องนี้มาบดบังการมองเห็นขณะที่เรากำลังหนีไฟ การป้องกันช่องเปิดนั้นเราทำก็เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของผนังที่เราได้ทำการแบ่งส่วนอาคารไว้

วัสดุป้องกันไฟและควันลาม
การเจาะหรือเปิดพื้นผนังเดินระบบไฟฟ้า ประปา สื่อสาร ฯลฯ อาจทิ้งรูหรือช่องไว้ ทำให้เกิดไฟและควันลามได้เมื่อเกิดอัคคีภัย โดยเฉพาะวัสดุอุปกรณ์ที่สามารถหลอมละลายหรือลามไฟได้ จะทำให้ไฟไหม้ลามได้อย่างรวดเร็วไปยังทั่วบริเวณ
วัสดุกันไฟและควันลาม(Fire barrier) หรือเรียกอีกอย่างว่า(Fire stop) นี้ใช้เพื่อจำกัดการแพร่กระจายของไฟและควันผ่านช่องเจาะหรือช่องเปิดพื้นและผนังป้องกันอัคคีภัย


การกันไฟที่สมบูรณ์ได้รับการทดสอบและแสดงรายการ ไม่ใช่แค่วัสดุกันไฟเท่านั้น ยังมีส่วนประกอบ ดังนี้
1. ส่วนประกอบโครงสร้างทนไฟ (พื้น/ผนัง)
2. อุปกรณ์รายการที่เจาะทะลุผ่าน เช่น ท่อ สายไฟ ท่อหุ้มฉนวน
3. วัสดุป้องกันไฟและควันลาม
เราจะวัดประสิทธิภาพของวัสดุป้องกันไฟและควันลามได้อย่างไร?
สำหรับมาตรฐานการทดสอบในปัจจุบันคือ ASTM E 119 STANDARD TEST METHODS for FIRE TESTS of BUILDING CONSTRUCTION AND MATERIALS.
การทดสอบที่สำคัญที่สุดสำหรับการเจาะทะลุระบบหยุดอัคคีภัยคือ ASTM E 814, STANDARD TEST METHOD for FIRE TESTS of THROUGH-PENETRATION FIRESTOPS.
การทดสอบหยุดอัคคีภัยรอยต่ออาคารและโครงสร้างคือ ASTM E 1966, TESTS FOR FIRE RESISTANCE OF BUILDING JOINT SYSTEMS.

Recognized Testing Agencies หน่วยงานทดสอบที่ได้รับการยอมรับ
Underwriters Laboratories, Inc.
BS Standards
Intertek Omega Point Laboratories and Warnock Hersey
FM Factory Mutual Research