คำแนะนำในการป้องกันอันตรายจากอัคคีภัย

คำแนะนำในการป้องกันอัคคีภัย

          จากเหตุการณ์ตัวอย่างของการเกิดอัคคีภัยที่ผ่านมาและนับว่าเป็นบทเรียนที่มีราคาแพงเราควรจะได้นำบทเรียนเหล่านี้มาวิเคราะห์เพื่อหามาตรการป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นมาอีกคำแนะนำต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ควรปฏิบัติเพื่อลดอันตรายจากอัคคีภัยนอกเหนือจากมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัยตามที่กำหนดไว้แล้ว

  1. ดูแลติดตั้งระบบไฟฟ้าให้ได้ตามมาตรฐานเสมอ ในกรณีของอาคารศูนย์การค้าอาคารให้เช่าพื้นที่ จะต้องมีมาตรการควบคุมการติดตั้งให้ได้มาตรฐาน
  2. ตรวจสอบความต้านทานของฉนวนสายไฟฟ้า (Electrical insulation test) เมื่ออาคารมีอายุการใช้งาน ครบห้าปีและตรวจครั้งต่อไป ปีละหนึ่งครั้ง
  3. จัดให้มีองค์กรที่ถาวรเพื่อดูแลรับผิดชอบทางด้านความปลอดภัยโดยตรง
  4. มีเจ้าหน้าที่เพื่อควบคุมดูแลความปลอดภัยโดยเฉพาะ สำหรับงานที่ปรับปรุงงานตกแต่งภายในงานเฟอร์นิเจอร์งานสีและห้ามสูบบุหรี่ในงานลักษณะนี้โดยเด็ดขาด
  5. หลีกเลี่ยงงานเชื่อมโลหะในอาคารที่ใช้งานแล้ว และอาคารที่มีวัสดุติดไฟจำนวนมาก ทั้งนี้รวมถึงการติดตั้งระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงในอาคารที่ใช้งานแล้วด้วย
  6. ห้ามใช้ผนังไม้อัดกั้นเป็นห้องเก็บสินค้าห้องเก็บเอกสารและควรใช้ผนังกั้นห้องที่เป็นวัสดุทนไฟ
  7. ห้ามเก็บสิ่งของในห้องเครื่องห้องไฟฟ้าเช่นการเก็บไม้กวาดไม้ถูพื้นผ้ากล่องกระดาษเอกสารเฟอร์นิเจอร์เก่านอกจากนี้ประตูห้องเครื่องควรจะเป็นบานประตูเหล็ก
  8. อุดช่องต่าง ๆ ที่พื้นกั้นระหว่างชั้นอาคาร ด้วยวัสดุกันไฟ เช่น ซีเมนต์ ฉนวนใยหินและวัสดุกันไฟ (Fire Barrier) ที่ใช้อุดกันไฟ (Fire Seal) ช่องเหล่านี้ รวมถึงช่องท่อช่องเดินสายไฟและควรหลีกเลี่ยงการใช้ท่อระบายอากาศร่วมในแนวดิ่งยก เว้นเสียแต่จะมีการติดตั้งลิ้นกันไฟที่ถูกต้อง

  9. จัดให้มีประตูปิดช่องบันไดทุกบันได รวมทั้งโถงลิฟต์ประตูที่ควรใช้สำหรับบันไดและลิฟต์ดับเพลิง คือ ประตูทนไฟ ส่วนประตูที่โถงลิฟต์อาจจะใช้ประตูกระจกได้
  10. จัดให้มีระบบระบายควันไฟเมื่อเกิดอัคคีภัย
  11. จัดให้มีแผนทางหนีภัยจัดให้มีทางหนีภัยที่เพียงพอรวมทั้งป้ายบอกทางหนีภัยที่เห็นได้ชัดเจนแม้ในที่มืด
  12. หลีกเลี่ยงการใช้โครงสร้างเหล็กยกเว้นแต่มีการเสริมการทนไฟและติดตั้งระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิง
  13. หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุติดไฟและวัสดุที่เกิดก๊าซพิษเมื่อถูกไฟเผาเช่นพลาสติกไฟเบอร์กลาสโฟมเป็นส่วนประกอบ
  14. หลักเลี่ยงการห้อยแขวนวัสดุตกแต่งที่มีน้ำหนักมากที่เพดานและสามารถตกลงมาได้เมื่อเกิดอัคคีภัยและหากมีก็ควรให้มีที่ยึดที่แข็งแรง
This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.